Latest News

Featured
Featured

Gallery

Technology

Video

Games

Recent Posts

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565

ตามรอยปืนใหญ่ “ศรีปาตานี” ภาพสะท้อนความรุ่งเรืองของปัตตานีในอดีต

 

“ปืนใหญ่ศรีปาตานี” หรือ “ปืนใหญ่พญาตานี” ที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร คือภาพสะท้อนความรุ่งเรืองของปัตตานีไนอดีตอันมั่งคั่งและน่ายำเกรง จากการเป็นเมืองอุตสาหกรรมผลิตปืนใหญ่ทรงอาณุภาพและเมืองท่าอันลือชื่อ นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์กับสยามนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น ความรุ่งเรืองของปัตตานีที่พุ่งทยานถึงขีดสุดยังเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของกษัตรีย์แห่งปัตตานีที่สืบทอดบัลลังก์พร้อมกับราโชบายในการพัฒนาปัตตานีต่อเนื่องกันถึง 4 พระองค์ แม้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของปืนใหญ่พญาตานียังคงคลุมเครือ แต่ความทรงจำของชาวปัตตานีต่อ “ปืนใหญ่พญาตานี” และ “ปืนใหญ่แห่งปาตานี” คือความภาคภูมิต่อประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่ฝังลึกในก้นบึ้งของหัวใจของชาวปัตตานีทั้งมวล ซึ่งผู้คนภายนอกอาจไม่เข้าใจและอาจสับสนต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ร่วมสมัยระหว่างรัฐไทยกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะฉะนั้น การย้อนรอยอดีตเพื่อทำความเข้าใจปัจจุบันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการทำความเข้าใจชุดความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน แม้เรื่องราวต่าง ๆ จะผ่านเลยมาแล้วก็ตาม 

 ขอบคุณดนตรีประกอบ/ Thank You for Original Soundtrack Rentak Melayu - Wishnu Dewanta's Senior Recital w/ UPH Symphony Orchestra Joget Serampang Laut أغنية الملايو التقليدية Malay Traditional Song Instrumental Medley Inang & Joget ~ Aswara Game of Thrones Theme – Irama Melayu


ที่มา ประวัติศาสตร์นอกตำรา 

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

มหาตมะ คานธี : พลังใจแห่งการต่อสู้ของชาวอินเดีย

 มหาตมะ คานธี ชายผู้กอบกู้เอกราชอินเดีย

โมฮันดาส การัมจันท์ คานธี Mahatma Gandhi (ปี 1869-1948) เป็นทั้งครูและนักปฏิรูป ซึ่งเรารู้จักกันในนามว่า ‘มหาตมะ’ หรือจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ คานธีเกิดในโปรพันทาระทางตะวันตกของอินเดีย ปี 1888 เขาไปศึกษาวิชากฎหมายที่ลอนดอนและเริ่มศึกษาเกี่ยวกับศาสนา เขาสนใจคัมภีร์ภควัตคีตาของศาสนาฮินดูซึ่งเป็นแรงใจสำหรับตัวเขาตลอดชีวิต

มหาตมะ คานธี

เป็นศูนย์รวมพลังใจแห่งอินเดีย เป็นบุคคลสำคัญในการต่อสู้ของอินเดีย เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เขาอุทิศชีวิตต่อสู้เพื่อให้เกิดสันติภาพ การปฏิรูปและการปกครองตนเองในบ้านเมือง

ต่อมาคานธีย้ายไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในแอฟริกาใต้ โดยประกอบอาชีพทนายความ เขาเรียกร้องให้มหาชนต่อสู้กับกฏหมายที่แบ่งแยกกีดกันชุมชนชาวเอเชีย จนรัฐบาลต้องยอมโอนอ่อนให้สิทธิบางประการมาบ้าง

โมฮันดาส การัมจันท์ คานธี Mahatma Gandhi
มหาตมะ คานธี สมัยเป็นนักเรียนกฏหมายอยู่ที่ลอนดอน
(ภาพจาก : wikipedia)

คานธีกลับอินเดียในปี 1915 หลังจากเขียนหนังสือเล่มเล็กๆ เรียกร้องให้อินเดียปกครองตนเอง เขาดำเนินชีวิตอย่างสมถะและแต่งกายง่ายๆ คานธีเห็นว่าการประพฤติและปฏิรูปสังคมนั้นสำคัญพอๆกับเรื่องการเมือง เขาต่อสู้เพื่อล้มล้างระบบจัณฑาล ซึ่งเป็นวรรณะต่ำสุดที่ถูกรังเกียจเดียดฉันท์ในอินเดีย เขาต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี และเชื่อว่าชาวฮินดูและชาวมุสลิมจะมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

เริ่มต้นขบวนการดื้อแพ่ง

ในปี 1920 คานธีโน้มน้าวพรรคคองเกรสแห่งอินเดียซึ่งเป็นกลุ่มที่เรียกร้องอิสรภาพ ให้เคลื่อนไหวต่อต้านอังกฤษ ขบวนการนี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบรับอย่างใหญ่หลวง คานธีชักชวนให้รวมหัวกันต่อต้านผ้าอังกฤษที่ทำจากฝ้ายราคาถูกของอินเดียและใช้วงล้อปั่นด้ายเป็นสัญลักษณ์แทนการพึ่งพาตนเอง จากเหตุการณ์นี้ทำให้เขาถูกจับและจำคุก 6 ปี

คานธีกับดร.แอนนี่เบซานต์ ระหว่างทางไปประชุมที่เมืองมัทราสในเดือนกันยายน พ.ศ. 2464
คานธีได้นำผ้าเตี่ยวมาใช้เป็นครั้งแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแสดงตัวตนกับคนยากจนของอินเดีย
(ภาพจาก : Wikipedia)

ในปี 1930 คานธีเริ่มขบวนการดื้อแพ่งครั้งที่ 2 เขานำการเดินขบวนผ่านอินเดียตะวันตกไปที่ชายฝั่งเพื่อผลิตเกลือด้วยมือตนเองเป็นการประท้วงที่รัฐผูกขาดการผลิตเกลือ จึงทำให้เขาถูกจับกุมอีกครั้ง ปี 1931 เขาเข้าร่วมประชุมโต๊ะกลมที่กรุงลอนดอน เรื่อง อนาคตของอินเดีย แต่การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 คานธีจัดตั้งขบวนการเคลื่อนไหว ‘จงไปจากอินเดีย’ (Quit India) อังกฤษโต้ตอบด้วยการจับตัวผู้นำของพรรคคองเกรสไป แต่กลับกลายเป็นการยั่วยุให้เกิดการต่อสู้ที่รุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียอำนาจในดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศไป

โมฮันดาส การัมจันท์ คานธี Mahatma Gandhi
โมฮันดาส การัมจันท์ คานธี Mahatma Gandhi

หลังปี 1944 คานธีปล่อยให้คองเกรสเป็นผู้เจรจาต่อรองกับอังกฤษ ส่วนเขาหันมาทุ่มเทให้กับการสร้างความสงบสุขให้กับดินแดนต่างๆที่มีการจลาจลต่อสู้ระหว่างพวกฮินดูกับมุสลิม เขาต่อต้านการแบ่งแยกทางการเมือง ระหว่างชาวฮินดูกับชาวมุสลิม ซึ่งการแบ่งแยกนี้นำไปสู่การก่อตั้งประเทศปากีสถาน ในวันประกาศเอกราช วันที่ 15 สิงหาคม 1947 คานธีอดอาหารและสวดอธิษฐานขอสันติภาพ ผลจากการแบ่งแยกชาวฮินดูและชาวมุสลิมนี้ทำให้ต้องอพยพคนจำนวนมาก มีคนล้มตายถึงหลายแสนคนในปีนี้

อนุสรณ์สถานที่คานธีถูกลอบสังหารในปี 2491
อนุสรณ์สถานที่คานธีถูกลอบสังหารในปี 2491
(ภาพจาก : wikipedia)

ในวันที่ 30 มกราคม 1948 คานธีถูกชาวฮินดูหัวรุนแรงยิงเสียชีวิตในเมืองเดลี ขณะชุมนุมสวดมนต์ยามเย็นที่ปฏิบัติเป็นกิจวัตร ชาวฮินดูคนนั้นไม่ต้องการให้ชาวมุสลิมและฮินดูสมานฉันท์กัน เขาจึงยิงปืนใส่คานธีถึง 3 นัด จนคานธีล้มลง ไม่ทันได้ถึงมือแพทย์ คานธีได้เสียชีวิตลงไปก่อน ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุ 78 ปี.

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563

อาณาจักรลังกาสุกะ การสถาปนาอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนประเทศไทยโบราณ ตอนที่ 12

ประวัติศาสตร์ อาณาจักรปัตตานี

อาณาจักรปัตตานี  ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลาบางส่วนในปัจจุบัน

อาณาจักรปัตตานี (มลายู: كراجأن ڤتاني; Kerajaan Patani) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลาบางส่วนในปัจจุบัน อาณาจักรปัตตานีถือกำเนิดขึ้นก่อนอาณาจักรสยาม 500 ปี เริ่มจากเป็นเผ่าเล็ก ๆ รวมตัวกัน มีประชากรอาศัย 200-250 คน มีชื่อว่า ปีสัง โดยแต่ละปีจะมีตูวอลา (หัวหน้าเผ่าในสมัยนั้น) มาปกครอง และจะสลับทุก ๆ 1 ปี ต่อมามีชนกลุ่มใหญ่เข้ามามีบทบาทในแถบนี้มากขึ้น จนในที่สุด ก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ และเปลี่ยนจากชื่อ ปีสัง มาเป็น บาลูกา ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 หลังจากนั้นราว 100 ปี ลูกชายกษัตย์ลังกาสุกะได้เดินทางมาถึงที่นี้และรู้สึกประทับใจ เลยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปาตาอีนิง แล้วก่อตั้งเป็นรัฐใหม่ ชื่อ รัฐปาตาอีนิง จนมีพ่อค้ามากมายเข้ามาติดต่อค้าขายทั้งจีน อาหรับ แต่ชาวอาหรับเรียกที่นี้ว่า ฟาตอนี เลยมีคนเรียกดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันออกไป เดิมอาณาจักรปัตตานีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม โดยบางช่วงอาณาจักรแผ่ขยายครอบคลุมถึงรัฐกลันตันและรัฐตรังกานู ตอนกลางของประเทศมาเลเซีย แต่หลังการสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง จนตกอยู่ในอำนาจของสยามในปี พ.ศ. 2329 และกลายเป็นเมืองขึ้นเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2445 ก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม

      ทางช่องนำเรื่องประวัติศาสตร์มาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นความรู้ ความบันเทิงเท่านั้น มิได้มีเจตนาใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟัง 

ที่มา :

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563

ประวัติศาสตร์ มอญ จากยุคเริ่มต้นถึงกาลอวสาน



มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ชนชาติหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันอาศัยอยู่เป็นกลุ่มกระจายอยู่ในประเทศพม่า และประเทศไทย ชนชาติมอญมีความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง เป็นชนชาติ ที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่งในภูมิภาคนี้ ตามพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญ" เป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าซะด้วยซ้ำ
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่วีดีโอนี้
-----------------------------------------------
**ข้อมูลอ้างอิง**

หม่อง ทินอ่อง เขียน เพ็ชรี สุมิตร แปล. ประวัติศาสตร์พม่า. กรุงเทพ:โครงการตำราฯ. 2551.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. พม่า ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพฯ:โครงการตำราฯ, 2544.

พงศาวดารมอญพม่า คัดจากฉบับพิมพ์ครั้งแรกในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ เข้าถึงได้ที่ - https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8...

สุภรณ์ โอเจริญ. มอญ ในเมืองไทย. กรุงเทพ:โครงการตำราฯ. 2541.

 “พระเจ้าอโนรธา” ได้อะไรไปจาก “เมืองมอญ”!? บทความโดย อาโด๊ด เข้าถึงได้ที่ - https://www.silpa-mag.com/history/art...

“มอญ ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์” บทความโดย วิรัช นิยมธรรม เข้าถึงได้ที่ - http://www.openbase.in.th/node/9784

“มอญ เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยใด?” บทความโดย องค์ บรรจุน เข้าถึงได้ที่ - http://www.openbase.in.th/node/9783

อาณาจักรมอญ - https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...

อะยี - https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...
----------------------------------------------
**Cr. รูปประกอบจาก หนังสือประวัติศาสตร์พม่า **
----------------------------------------------
** วีดีโอนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มอญ-พม่า ที่ทางเราไม่ถนัดเลย ต้องทำความเข้าใจใหม่ในหลายๆเรื่อง ต้องอ่านหนังสือ บทความ และย่อยเรื่องราว เพื่อเขียนเป็นสคลิปบรรยยาย ให้เข้าใจได้เพียงยี่สิบนาที ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย หากขาดตกบกพร่องอะไรไป ก็ต้องขอภัยด้วยนะครับ **

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

       


 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,810 ไร่ โดยตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 3,000 ไร่[1] อุทยานฯ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือ ตามถนนสายเอเซีย ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร[2] ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ในนาม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใน พ.ศ. 1893 และได้ถูกพม่าทำลายลงในพุทธศตวรรษที่ 23[4] แม้จะถูกทำลายลงก็ยังคงมีร่องรอยความยิ่งใหญ่และความเจริญรุ่งเรืองของเมืองดังที่ปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ได้มีการรื้ออิฐจากสถาปัตยกรรมในกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปก่อสร้างกรุงเทพมหานคร ทำให้โบราณสถานต่าง ๆ ถูกทำลายและทิ้งร้างไป[5] ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณสถานในกรุงศรีอยุธยาขึ้นอีกครั้ง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณราชธานินท์ ข้าหลวงมณฑลกรุงเก่าทำการขุดแต่งโบราณสถาน และปรับปรุงสภาพในพระราชวังโบราณ
เมื่อปี พ.ศ. 2478 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานหลายแห่งในเกาะรอบเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ รวม 69 แห่ง
ต่อมาในสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มโครงการบูรณะพระที่นั่งและวัดต่าง ๆ โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล
ปี พ.ศ. 2512 ได้มีโครงการชื่อ โครงการสำรวจขุดแต่งและบูรณะปรับปรุงโบราณสถาน โดยมีความพยายามที่จะประสานงานร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในอันที่จะอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้
ในที่สุด พ.ศ. 2519 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของงานชิ้นใหม่ แล้วจัดทำโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้น และเริ่มทำการบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเป็นต้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ปี พ.ศ. 2534 ณ เมืองคาร์เธจ ประเทศตูนิเซีย นครประวัติศาสคร์พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร) และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

ขอบเขตของอุทยานประวัติศาสตร์[แก้]

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีขอบเขตพื้นที่ตามประกาศกรมศิลปากรเรื่องกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน รวมพื้นที่ทั้งสิ้นราว 3,000 ไร่ โดยได้มีการกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 รวมพื้นที่ประมาณ 1,810 ไร่ [6] โดยในเขตที่ดินโบราณสถานดังกล่าวมีโบราณสถานที่สำคัญ ดังนี้
เลขที่ชื่อรูปภาพสร้างผู้สร้าง
1พระราชวังโบราณRoyal Palace of Ayutthaya.jpgพ.ศ. 1893สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
2วัดมหาธาตุวัดมหาธาตุ 3.jpgพ.ศ. 1917
หรือ พ.ศ. 1927
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
3วัดพระศรีสรรเพชญ์Wat phra sri sanpetch (Temple), Ayutthaya, Thailand.jpgพ.ศ. 1991สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
4วัดราชบูรณะEntrance of Wat Ratchaburana (Ayutthaya).jpgพ.ศ. 1967สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
5วัดพระรามWat Phra Ram - Day.jpgพ.ศ. 1912สมเด็จพระราเมศวร
6วิหารพระมงคลบพิตรPhra Mongkhon Bophit after 2018 renovated.jpg?ราวสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติม ซึ่งครอบคลุมเกาะเมืองอยุธยาและพื้นที่รอบนอกเกาะเมืองทุกด้านที่ปรากฏหลักฐานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำการอนุรักษ์และพัฒนาให้เหมาะสมกับการที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก[7] ซึ่งในเขตที่ดินเพิ่มเติมนี้ มีโบราณสถานที่สำคัญ อาทิ
  1. พระราชวังจันทรเกษม
  2. วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร
  3. วัดโลกยสุธาราม
  4. วัดธรรมิกราช
  5. วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร
  6. วัดสวนหลวงสบสวรรค์
  7. กำแพงและป้อมปราการกรุงเก่า
  8. วัดไชยวัฒนาราม
  9. วัดพุทไธศวรรย์
  10. วัดหน้าพระเมรุ
  11. วัดใหญ่ชัยมงคล
  1. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
  2. วัดพนัญเชิง
  3. วัดกุฎีดาว
  4. วัดดุสิดาราม
  5. วัดภูเขาทอง
  6. วัดพระยาแมน
  7. หมู่บ้านโปรตุเกส
  8. หมู่บ้านฮอลันดา
  9. หมู่บ้านญี่ปุ่น
  10. เพนียดคล้องช้าง
  11. โบสถ์นักบุญยอแซฟ เป็นต้น
ทั้งนี้ เขตที่ดินโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก คือเขตที่ดินในส่วนก่อนมีประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2540 เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเสนอขอขยายเขตที่ดินตามประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณเพิ่มเติมให้เป็นมรดกโลก

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก[แก้]

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลก ดังนี้
- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว



Videos

Recent Post